วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการทำกระดาษดับกลิ่นอับจากสมุนไพร

วัสดุ-อุปกรณ์
  1. เตาแก๊ส 
  2. ครก – สาก 
  3. ถาดแบน   
  4. กระดาษรีไซเคิล 
  5. ผงถ่าน   
  6. แป้งมัน   

  7. แป้งมัน
  8. น้ำ
  9. ใบตะไคร้
  10. ใบเตยหอม
  11. ผิวมะกรูด

 ขั้นตอนการ
ทำ
  1. นำผงถ่าน 200 กรัม มาผสมกับกระดาษรีไซเคิล 2 แผ่น โดยฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  2. นำส่วนผสมในข้อที่ 1. มาต้มกับน้ำ 1 ลิตร จนกระดาษเปื่อย
  3. นำแป้งมัน 100 กรัม และ ใบเตย ผิวมะกรูด ใบตะไคร้ เข้าไปผสมจนเนื้อแป้งมีความเหนียวพอประมาณ คนจนเป็นเนื้อเดียวกัน จึงนำมาขึ้นรูปในถาดแบนและนำไปตาก
  4. เมื่อกระดาษแห้งแล้ว นำขึ้นมาจากถาดแบน สามารถนำไปวางเพื่อดับกลิ่นอับได้เลย
*อาจจะทำกระดาษดับกลิ่นอับจากสมุนไพรมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆได้



วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การผลิตกระดาษรีไซเคิล



การผลิตกระดาษรีไซเคิล
อุปกรณ์การทำกระดาษรีไซเคิล
1.  กระดาษที่ทิ้งแล้ว
2.  กะละมัง หรือถังน้ำ
3.  เฟรมที่ทำด้วยอลูมิเนียม

ขั้นตอนการทำกระดาษรีไซเคิล
1.  นำกระดาษที่เหลือใช้ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษเอกสารที่เหลือใช้มาคัดเลือกและแยกกระดาษที่เป็นชนิดเดียวกันไว้ด้วยกัน ซึ่งจะสะดวกในการย่อยสลาย
2.  ตัดหรือฉีกกระดาษเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 2 – 3 นิ้ว นำไปแช่ในกะละมังหรือถังน้ำ โดยใส่น้ำให้ท่วมกระดาษ ประมาณ 3 – 5 วัน เพื่อให้กระดาษนิ่มหรือจนเปื่อยยุ่ย
3.  เมื่อกระดาษนิ่มหรือเปื่อยยุ่ยดีแล้ว ให้ช้อนเอาเศษกระดาษขึ้นมาใส่เครื่องปั่นน้ำผลไม้ เติมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้การปั่นสะดวกขึ้น ในขั้นตอนนี้สามารถเติมสีจากธรรมชาติตามความต้องการเพื่อสร้างสีสันให้กระดาษสวยงาม ปั่นจนละเอียดเป็นวุ้น
4.  นำเยื่อกระดาษที่ปั่นแล้วใส่ลงในกะละมัง ใส่น้ำตามความต้องการ ถ้าต้องการกระดาษหนาให้ใส่น้ำน้อย ถ้าต้องการกระดาษบางให้ใส่น้ำมาก
5.  ใช้ไม้กวนให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำเฟรมช้อนเยื่อกระดาษในกะละมัง สังเกตความหนาบาง ใช้แปรงเกลี่ยลูบให้กระดาษมีความหนาเท่าๆกันทั่วทั้งแผ่น
6.  นำเฟรมกระดาษไปผึ่งแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 วัน กระดาษจะแห้งเป็นแผ่นคล้ายกระดาษสา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย

ประโยชน์ของกระดาษรีไซเคิล
1.ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีใหม่เพราะสามารถใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลทดแทนได้
2.ช่วยรัฐประหยัดเงินเพราะเคมีภัณฑ์ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
3.ช่วยให้การจัดเก็บของเสียมีระเบียบ จนสามารถสร้างวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
5.ช่วยลดปัญหามลพิษที่เกิดจากกการเผาไหม้
6.ประดิษฐ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน
7.ประดิษฐ์ของเล่น

8.ประดิษฐ์ของชำร่วย
9.ประดิษฐ์เครื่องประดับ
10.ใช้ประกอบการจัดป้ายนิเทศต่างๆ
11.ตกแต่งห้องเรียนและมุมกิจกรรม
12.นักเรียนใช้ประกอบการทำรายงาน
13.ทำโครงงาน 

14.ทำปกรายงาน

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ถ่านกัมมันต์

    

     ถ่านกัมมันต์ (activated carbon หรือ activated charcoal) เป็นวัสดุที่ประกอบด้วย คาร์บอน (C) ที่ได้จาก ถ่าน ถูกระบุว่าเป็นวัสดุที่มีพื้นที่ผิวสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการดูดซับไนโตรเจนมีสูงมาก เพราะว่ามีรูเล็กๆ (microporosity) จำนวนมาก และสามารถเพิ่มพลังการดูดซับได้อีกโดยใช้สารเคมีปรับสภาพ

ประโยชน์
     ถ่านเป็นอีกรูปหนึ่งของคาร์บอน เป็นอโลหะ ถ่านมีเชื้อสายเดียวกับเพชรและกราไฟต์ สามารถนำถ่านมาหุงต้มอาหาร ใช้ดูดกลิ่นได้อย่างดี นำถ่านก้อนเก็บไว้ในตู้เย็น จะช่วยดูดกลิ่นอาหาร นำถ่านก้อนวางไว้กลางกระทะจะช่วยดูดกลิ่นที่ติดอยู่กับกระทะได้ ถ่านที่เผาจากกะลามะพร้าวมีคุณสมบัติพิเศษไปจากถ่านไม้ ช่วยดูดกลิ่นเหม็น และกลิ่นเหม็นของก๊าซได้อย่างดี ใช้ถ่านกรองน้ำให้สะอาด


ทฤษฎีการดูดกลิ่นของถ่านกัมมันต์
      ถ่านไม่ได้ใช้การ absorption (การดูดซึม) แต่ adsorption คือการที่โมเลกุลกลิ่นได้เกิดการเกาะติดกับโมเลกุลที่ผิวของถ่าน การเกาะติด จะใช้ Van Der Waals Force เป็นหลัก
การเกาะติดนั้น มีแรงน้อยมาก แต่เพราะว่า มันมีพื้นที่ผิวมหาศาลทำให้ สามารถเกาะติดได้ปริมาณมากไปด้วย  ผลก็คือทำให้ดูดกลิ่นได้ส่วนที่เหลือ ก็ใช้การแพร่ธรรมดา ไม่ต้องมีระบบไหลเวียนก็ได้ เพราะแก๊สฟุ้งกระจายอยู่แล้ว

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สมุนไพรช่วยลดกลิ่นอับ

เตยหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus amaryllifolius  Roxb.
ชื่อสามัญ : Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.
วงศ์ : Pandanaceae
ชื่ออื่น : ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม 




มะกรูด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix  DC.
ชื่อสามัญ : Leech lime, Mauritus papeda
วงศ์ : Rutaceae
ชื่ออื่น : มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด




ตะไคร้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus  Stapf.
ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapine
วงศ์ : Poaceae (Gramineae)
ชื่ออื่น : จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง (ทั่วไป)
ถิ่นกำเนิด : ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย และในทวีปอเมริกาใต้
ลักษณะโดยทั่วไป : เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป





วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

สมุนไพร (Herb)

สมุนไพร (Herb)
       สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า เครื่องเทศ



ลักษณะ
  พืชสมุนไพร นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่าง ๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น
พืชสมุนไพร หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ ดังนี้
รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้น ๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร



ประเภทของยาเภสัชวัตถุ
ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ
ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ
ยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลงอีกด้วย ในทางตรงกันข้าม มีสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีพิษ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้เกินขนาดจะมีพิษถึงตายได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการนำสมุนไพรมาใช้พัฒนาประเทศมากขึ้น