วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการทำกระดาษดับกลิ่นอับจากสมุนไพร

วัสดุ-อุปกรณ์
  1. เตาแก๊ส 
  2. ครก – สาก 
  3. ถาดแบน   
  4. กระดาษรีไซเคิล 
  5. ผงถ่าน   
  6. แป้งมัน   

  7. แป้งมัน
  8. น้ำ
  9. ใบตะไคร้
  10. ใบเตยหอม
  11. ผิวมะกรูด

 ขั้นตอนการ
ทำ
  1. นำผงถ่าน 200 กรัม มาผสมกับกระดาษรีไซเคิล 2 แผ่น โดยฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  2. นำส่วนผสมในข้อที่ 1. มาต้มกับน้ำ 1 ลิตร จนกระดาษเปื่อย
  3. นำแป้งมัน 100 กรัม และ ใบเตย ผิวมะกรูด ใบตะไคร้ เข้าไปผสมจนเนื้อแป้งมีความเหนียวพอประมาณ คนจนเป็นเนื้อเดียวกัน จึงนำมาขึ้นรูปในถาดแบนและนำไปตาก
  4. เมื่อกระดาษแห้งแล้ว นำขึ้นมาจากถาดแบน สามารถนำไปวางเพื่อดับกลิ่นอับได้เลย
*อาจจะทำกระดาษดับกลิ่นอับจากสมุนไพรมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆได้



วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การผลิตกระดาษรีไซเคิล



การผลิตกระดาษรีไซเคิล
อุปกรณ์การทำกระดาษรีไซเคิล
1.  กระดาษที่ทิ้งแล้ว
2.  กะละมัง หรือถังน้ำ
3.  เฟรมที่ทำด้วยอลูมิเนียม

ขั้นตอนการทำกระดาษรีไซเคิล
1.  นำกระดาษที่เหลือใช้ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษเอกสารที่เหลือใช้มาคัดเลือกและแยกกระดาษที่เป็นชนิดเดียวกันไว้ด้วยกัน ซึ่งจะสะดวกในการย่อยสลาย
2.  ตัดหรือฉีกกระดาษเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 2 – 3 นิ้ว นำไปแช่ในกะละมังหรือถังน้ำ โดยใส่น้ำให้ท่วมกระดาษ ประมาณ 3 – 5 วัน เพื่อให้กระดาษนิ่มหรือจนเปื่อยยุ่ย
3.  เมื่อกระดาษนิ่มหรือเปื่อยยุ่ยดีแล้ว ให้ช้อนเอาเศษกระดาษขึ้นมาใส่เครื่องปั่นน้ำผลไม้ เติมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้การปั่นสะดวกขึ้น ในขั้นตอนนี้สามารถเติมสีจากธรรมชาติตามความต้องการเพื่อสร้างสีสันให้กระดาษสวยงาม ปั่นจนละเอียดเป็นวุ้น
4.  นำเยื่อกระดาษที่ปั่นแล้วใส่ลงในกะละมัง ใส่น้ำตามความต้องการ ถ้าต้องการกระดาษหนาให้ใส่น้ำน้อย ถ้าต้องการกระดาษบางให้ใส่น้ำมาก
5.  ใช้ไม้กวนให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำเฟรมช้อนเยื่อกระดาษในกะละมัง สังเกตความหนาบาง ใช้แปรงเกลี่ยลูบให้กระดาษมีความหนาเท่าๆกันทั่วทั้งแผ่น
6.  นำเฟรมกระดาษไปผึ่งแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 วัน กระดาษจะแห้งเป็นแผ่นคล้ายกระดาษสา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย

ประโยชน์ของกระดาษรีไซเคิล
1.ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีใหม่เพราะสามารถใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลทดแทนได้
2.ช่วยรัฐประหยัดเงินเพราะเคมีภัณฑ์ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
3.ช่วยให้การจัดเก็บของเสียมีระเบียบ จนสามารถสร้างวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
5.ช่วยลดปัญหามลพิษที่เกิดจากกการเผาไหม้
6.ประดิษฐ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน
7.ประดิษฐ์ของเล่น

8.ประดิษฐ์ของชำร่วย
9.ประดิษฐ์เครื่องประดับ
10.ใช้ประกอบการจัดป้ายนิเทศต่างๆ
11.ตกแต่งห้องเรียนและมุมกิจกรรม
12.นักเรียนใช้ประกอบการทำรายงาน
13.ทำโครงงาน 

14.ทำปกรายงาน

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ถ่านกัมมันต์

    

     ถ่านกัมมันต์ (activated carbon หรือ activated charcoal) เป็นวัสดุที่ประกอบด้วย คาร์บอน (C) ที่ได้จาก ถ่าน ถูกระบุว่าเป็นวัสดุที่มีพื้นที่ผิวสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการดูดซับไนโตรเจนมีสูงมาก เพราะว่ามีรูเล็กๆ (microporosity) จำนวนมาก และสามารถเพิ่มพลังการดูดซับได้อีกโดยใช้สารเคมีปรับสภาพ

ประโยชน์
     ถ่านเป็นอีกรูปหนึ่งของคาร์บอน เป็นอโลหะ ถ่านมีเชื้อสายเดียวกับเพชรและกราไฟต์ สามารถนำถ่านมาหุงต้มอาหาร ใช้ดูดกลิ่นได้อย่างดี นำถ่านก้อนเก็บไว้ในตู้เย็น จะช่วยดูดกลิ่นอาหาร นำถ่านก้อนวางไว้กลางกระทะจะช่วยดูดกลิ่นที่ติดอยู่กับกระทะได้ ถ่านที่เผาจากกะลามะพร้าวมีคุณสมบัติพิเศษไปจากถ่านไม้ ช่วยดูดกลิ่นเหม็น และกลิ่นเหม็นของก๊าซได้อย่างดี ใช้ถ่านกรองน้ำให้สะอาด


ทฤษฎีการดูดกลิ่นของถ่านกัมมันต์
      ถ่านไม่ได้ใช้การ absorption (การดูดซึม) แต่ adsorption คือการที่โมเลกุลกลิ่นได้เกิดการเกาะติดกับโมเลกุลที่ผิวของถ่าน การเกาะติด จะใช้ Van Der Waals Force เป็นหลัก
การเกาะติดนั้น มีแรงน้อยมาก แต่เพราะว่า มันมีพื้นที่ผิวมหาศาลทำให้ สามารถเกาะติดได้ปริมาณมากไปด้วย  ผลก็คือทำให้ดูดกลิ่นได้ส่วนที่เหลือ ก็ใช้การแพร่ธรรมดา ไม่ต้องมีระบบไหลเวียนก็ได้ เพราะแก๊สฟุ้งกระจายอยู่แล้ว

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สมุนไพรช่วยลดกลิ่นอับ

เตยหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus amaryllifolius  Roxb.
ชื่อสามัญ : Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.
วงศ์ : Pandanaceae
ชื่ออื่น : ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม 




มะกรูด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix  DC.
ชื่อสามัญ : Leech lime, Mauritus papeda
วงศ์ : Rutaceae
ชื่ออื่น : มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด




ตะไคร้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus  Stapf.
ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapine
วงศ์ : Poaceae (Gramineae)
ชื่ออื่น : จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง (ทั่วไป)
ถิ่นกำเนิด : ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย และในทวีปอเมริกาใต้
ลักษณะโดยทั่วไป : เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป